วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประเพณีการแห่งเทียนพรรษาของคนชนบทและคนในเมืองมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

งานแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ได้กระทำมาแต่ครั้งพุทธกาล เหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อน
 มีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือดร้อน
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาติให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา 3 เดือนคือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด
 ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านพอดีในช่วงเข้าพรรษานี้ประชาชนจะนำเทียนไป
ถวายพระภิกษุเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฮลียวแลาดมีไหวพริบปฏิภาณประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่ได้จากรังผึ้ง
ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทีย
น ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน
และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล
ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ
 และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน
การแห่เทียนในยุคแรกๆชาวบ้านจะร่วมบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมามัดติดกับลำไม้ไผ่ติดกระดาษเงินสีทอง
ตัดลายฟันปลามาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนมัดติดกับปิ๊บน้ำมันก๊าด โดยใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนลากจูง
 และมีขบวนฟ้อนรำด้วยต่อมาได้มีการหล่อดอกจากผ้าพิมพ์แล้วมีการประยุกต์ประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปแกะสลักสัตว์
ลายไม้ฉลุทำให้ต้นเทียนดูสวยงามมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นประชาชนก็เห็นความสำคัญประเพณีแห่เทียนมากขึ้น
จังหวัดก็ได้ส่งเสริมให้เป็นงานประจำปีในช่วงนั้นมีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกัน
แล้วติดกระดาษสี กับประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น การทำต้นเทียนก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนมาถึงการแกะสลัก
ลงบนต้นเทียนโดยตรง ซึ่งเป็นการแกะที่ต้องอาศัยฝีมือเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาประเพณีแห่เทียนพรรษาจึง
ได้จดการประกวด3 ประเภท โดยเพิ่มประเภทแกะสลักลงบนต้นเทียนลงไป
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาได้รับการส่งเสริมจากทางจังหวัดมากขึ้น จนทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สนับสนุนให้เป็นงานประเพณีระดับชาติ ทำให้งานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบลเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยว
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางมาเที่ยวกันมากมาย
 

ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีการถือศีลกินเจของคนในชนบทและคนในเมืองแตกต่างหันอย่างไร

ความสำคัญ
จังหวัดกาญจนบุรีมีชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงต้นเดือนเก้า จะเห็นชาวจีนนุ่งผ้าขาวใส่เสื้ออาภรณ์สีขาวเดินไปสู่ศาลเจ้าและสำนักทางศาสนาทางจีนเป็นหมู่ใหญ่แสดงให้เห็นว่าเทศกาลถือศีลกินเจได้เริ่มแล้ว พิธีกินเจจะทำอยู่เก้าวันเก้าคืน เพื่อบูชาพระเก้าองค์กับดาวพระเคราะห์เก้าดวง รวมความว่ามีจำนวนเก้าทั้งสิ้น (การบูชาพระเก้าองค์ หมายถึงพระวรกายของพระพุทธเจ้าทั้งเจ็ดพระองค์ในอดีต ซึ่งอวตารมาช่วยชาวโลก และมีดาวอีกสองดวงเป็นพระวรกายแห่งพระโพธิสัตว์อีกสองพระองค์ ซึ่งทั้งหมดได้แบ่งภาคปรากฏแก่โลก เช่น พระวิชัยโลกมนจงพุทธะ จะปรากฏเป็นดาวพระอาทิตย์ เป็นต้น และดาวพระเคราะห์ทั้งเก้าได้ก่อให้โลกธาตุซึ่งเป็นหัวใจของโลก มีคุณแก่มนุษย์และสัตว์ พฤกษชาติทั้งปวงอย่างเอนกอนันต์ ) เป็นการบูชาพระผู้ทรงพระคุณและเพื่อความสุข ความเจริญทั้งแก่ตนและแก่โลกสืบไป

พิธีกรรม
เมื่อถึงวันเทศกาลถือศีลกินเจพุทธบริษัทแห่งนิกายมหายานมักหยุดทำธุรกิจ จะกระทำการแผ่เมตตาธรรมแก่มวลมิตรพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ให้อโหสิกรรมแก่กันและกัน แต่งตัวด้วยอาภรณ์ขาวล้วน ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินกันไปเป็นหมวดเป็นหมู่ ไปสู่ศาสนสถาน เพื่อกระทำพิธีบูชาพระทั้งเก้าองค์ และตลอดเก้าวันของพิธีถือศีลกินเจพุทธศาสนิกชนจะพึงสมาทานรักษาศีลสามข้อ คือ เว้นจากการนำชีวิตสัตว์มาบำรุงชีวิตตน เว้นจากการนำเลือดสัตว์มาเพิ่มเลือดตน เว้นจากการนำเนื้อสัตว์มาเพิ่มเนื้อตน
ดังนั้นเมื่อถือศีลสามข้อนี้แล้ว จึงรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ได้ ต้องรับประทานแต่อาหารถั่วงาและพืชผักอย่างอื่น

สาระ
ประเพณีถือศีลกินเจได้กระทำสืบเนื่องมานาน เป็นประเพณีที่อิงศาสนา อิงโหรศาสตร์ และอิงวัฒนธรรม ในช่วงเวลาของพิธีถือศีลกินเจถือว่าเป็นที่ละเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์และกระทำ
ช่วงจิตใจให้ผ่องแผ้ว










ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีทอดกฐินของคนในเมืองและชนบทมีแตกต่างกันกันหรือไม่อย่างไร

ความสำคัญ
เป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ถวายเครื่องนุ่งห่ม และไทยธรรมเป็นเครื่องบูชาแด่พระสงฆ์
คำว่า กฐิน ตามภาษาบาลีแปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าเพื่อเย็บของพระภิกษุให้สะดวกขึ้น เนื่องจากสมัยก่อน เครื่องมือที่จะใช้เย็บได้สะดวกไม่มีเหมือนในปัจจุบัน การเย็บจีวรต้องเย็บหลาย ๆ ชิ้นต่อกัน และประสานกันให้มีรูปเหมือนคันนาจึงต้องอาศัยไม้สะดึงช่วยในการขึงผ้า ฉะนั้น ผ้าที่ทำด้วยไม้สะดึงเพื่อการนี้โดยเฉพาะจึงเรียกว่า ผ้าเพื่อกฐิน และยังเรียกผ้ากฐินตามความหมายเดิมเรื่อยมาจนปัจจุบัน แม้ว่ามีผ้าสำเร็จรูปทำเพื่อทอดกฐินโดยไม่ได้อาศัยไม้สะดึงก็ตาม
แต่เดิมกฐินเป็นเรื่องของสงฆ์โดยเฉพาะ ภิกษุสงฆ์ต้องไปหาผ้ามาเองจากที่ต่าง ๆ ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ด้วยวิธีบังสุกุลและนำผ้านั้นมาเย็บย้อมเอง ต่อมาราษฎรมีจิตศรัทธานำผ้ามาถวายในที่สุดพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้รับผ้าจากราษฎรได้และเมื่อทรงอนุญาตให้กรานกฐินจึงเป็นสาเหตุให้ราษฎรบำเพ็ญกุศลด้วยการทอดกฐิน โดยนัดแนะกับพระ พระจัดการต้อนรับดังนี้เป็นต้น คำว่า ทอด คือ เอาไปวางไว้ การทอดกฐิน จึงหมายถึงการนำเอาผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย ๕ รูป โดยมิได้ตั้งใจว่าจะถวายแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ
ประเพณีการทอดกฐินของไทยมีหลักฐานปรากฏว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังปรากฎในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ และได้ถือเป็นประเพณีสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีทั้งกฐินที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลลงไปจนถึงกฐินของราษฎร






ความเชื่อเกี่ยวกับการทำขวัญข้าวของคนในชนบทและคนในเมืองในชุมชนไหนมีความเชื่อมากกว่ากันเพราะเหตุใด

ลักษณะความเชื่อ
เชื่อว่าถ้าได้ทำขวัญข้าว และถ้าพระแม่โพสพได้รับเครื่องสังเวยแล้ว ไม่ทำให้เมล็ดข้าวล้ม หนอน สัตว์ต่าง ๆ มากล้ำกราย ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนถวายแก่พระสงฆ์เมื่อข้าวนาสุกดีแล้ว เมื่อนวดข้าวเสร็จก็จะกำหนดวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์นำข้าวขึ้นยุ้ง ชาวบ้านก็จะมาร่วมทำขวัญข้าว ร้องเพลงทำขวัญแม่โพสพ


ความสำคัญ
การทำขวัญข้าวนั้น เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาให้รู้ว่า การทำนาปลูกข้าวของตนนั้น จะไม่สูญเปล่า เพราะพระแม่โพสพเป็นผู้ดูแล 
และเมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี และที่สุดคือการร่วมสนุกสนานเมื่อทุกคนเหนื่อยยาก และประสบความสำเร็จด้วยดี

พิธีกรรม
ช่วงแรกเมื่อข้าวตั้งท้อง ชาวนาจะนำตาแหลวไปปักไว้ที่หัวนา และขอบูชาพระแม่โพสพ ให้รับเครื่องสังเวย อันประกอบด้วยกล้วย อ้อย ถั่ว งา ส้ม มัดแขวนไว้กับตาแหลว และนำหมาก พลูจีบ ๑ คำ ใส่กรวยไว้หัวนา เมื่อถึงช่วงเกี่ยวข้าว ก็จะเอาหมาก พลูจีบ ๑ คำ บุหรี่มวน ๑ มวน ไปเชิญพระแม่โพสพ ผู้หญิงจะเกี่ยวข้าว ๑ กำ นำไปบูชาเป็นข้าวแม่โพสพในยุ้ง พร้อมผ้าแดง ผ้าขาว ขนาด ๑ คืบ อย่างละ ๑ ผืนใส่กระบุง


การเชื่อเกี่ยวการตั้งศาลพระภูมิไว้ภายในบ้านของคนชนบทและในเมืองมีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร



ความเป็นมา
ท้าวทศราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองพาลี หรือ พาราณสี หรือ ภาศี มีพระมเหสีชื่อ นางสันทาทุกขเทวี มีพระราชโอรส ๙ องค์ ทรงพระปรีชาสามารถเฉลียวฉลาดรอบรู้เหตุการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เมื่อพระราชโอรสเติบใหญ่ ท้าวทศราชจึงทรงมอบหมายให้ไปปกครองท้องที่ต่างๆ ตามความรู้ความสามารถทั้ง ๙ องค์
พระราชโอรสองค์ที่ ๑ ชื่อ พระชัยมงคล ดูแลเคหสถานบ้านเรือน ร้านค้า
พระราชโอรสองค์ที่ ๒ ชื่อ พระนครราช ดูแลป้อมค่าย ประตูวังและหอรบ
พระราชโอรสองค์ที่ ๓ ชื่อ พระเทเพล หรือ พระเทวเถร ดูแลคอกสัตว์ ช้าง ม้า โค กระบือ ฯลฯ
พระราชโอรสองค์ที่ ๔ ชื่อ พระชัยสพ ดูแลยุ้งฉาง และเสบียงคลัง
พระราชโอรสองค์ที่ ๕ ชื่อ พระคนธรรพ์ ดูแลโรงพิธีมงคล เรือนหอ
พระราชโอรสองค์ที่ ๖ ชื่อ พระธรรมโหรา ดูแลทุ่ง นา ป่า เขา
พระราชโอรสองค์ที่ ๗ ชื่อ พระวัยทัต ดูแลวัด อาราม และปูชนียสถาน
พระราชโอรสองค์ที่ ๘ ชื่อ พระธรรมมิกราช ดูแลอุทยานและพืชพันธุ์
พระราชโอรสองค์ที่ ๙ ชื่อ พระทาษธารา ดูแลแม่น้ำ ห้วยหนอง คลองบึง

ลักษณะความเชื่อ




ช่างไทยเชื่อว่าพระภูมิเป็นเจ้าของพื้นที่ต่าง ๆ ในโลกนี้และมีหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย ณ สถานที่ต่าง ๆ ให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป

ความเชื่อเกี่ยวกับภูตผี วิญญาณของคนชนบทและคนในเมืองมีความแตกต่างกันอย่าง

ลักษณะความเชื่อ
ความเชื่อของสังคมชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นความเชื่อที่ผสมผสาน ระหว่างผีบรรพบุรุษ และความเชื่อที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องต่อกันมา เชื่อว่าผีบรรพบุรุษเป็นผู้คุ้มครอง ลูกหลาน ในครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุข

ความสำคัญ และพิธีกรรม
จากความเชื่อของกลุ่มคนทำให้เกิดพิธีกรรมขึ้นหลายอย่าง เช่น
- ความเชื่อเกี่ยวกับผีพระยาแถน พระยาแถนถือว่าเป็นผู้สร้างโลก จากความเชื่อดังกล่าวทำให้เกิดพิธีกรรม การแห่บั้งไฟ เพื่อให้พระยาแถนส่งฝนลงมาให้พิธีกรรมเกี่ยวกับการลำผีฟ้า ผีแถน (เพื่อรักษาโรค เชื่อว่าสามารถรักษาโรคที่เกิดจากการกระทำของภูติผีได้)
- ความเชื่อเรื่องวิญญาณบรรพบุรุษประจำหมู่บ้าน หรือเรียกว่าผีปู่ตา ในหมู่บ้านจะมีการตั้งศาลที่เรียกว่า "ศาลปู่ตา" เชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองลูกบ้าน และบนบานศาลกล่าว ขอในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้
- ความเชื่อ พ่อเชื้อ แม่เชื้อ ผีประจำตระกูล หรือเรียกว่า ผีพ่อ ผีแม่ ที่อยู่ประจำบ้าน เมื่อลูกหลานแยกครอบครัวไปสร้างบ้าน ครัว ใหม่แล้วก็ต้องกลับมากราบ ไหว้ จนเกิดพิธีกรรมบวงสรวง หรือ บูชา บ้านที่เป็นต้นตระกูลจะมีหิ้งบูชาพ่อเชื้อ แม่เชื้อ หรือ "ผีพ่อ ผีแม่"